พุยพุย

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทความที่เกี่ยวของกับสื่อปฐมวัย





บทความที่เกี่ยวข้องกับสื่อปฐมวัย





1.นิทาน เพลง และคำคล้องจอง สื่อสำคัญในการพัฒนาภาษา 

นิทาน หมายถึง เรื่องเล่า มีการผูกเรื่องราว มีตัวละคร มีเหตุการณ์ในการดำเนินเรื่อง นิทานอาจมีเค้าโครงจากเรื่องจริง จินตนาการ ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ มีการแทรกเกร็ดความรู้ต่างๆในเนื้อเรื่อง 

นิทานสำหรับเด็ก หมายถึง เรื่องราวที่แต่งขึ้นหรือผูกขึ้นเพื่อนำมาเล่าหรือถ่ายทอดสู่เด็ก ด้วยเทคนิกวิธีการต่างๆ โดยมีจุดประสงค์เฉพาะเจาะจงเพื่อเด็ก นิทานยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกทักษะ เตรียมพร้อมในการเรียนของเด็กปฐมวัย วัตถุประสงค์ของการเล่านิทานเพื่อการพัฒนาและเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัยมี ดังนี้ 

         • ตอบสนองความต้องการทางธรรมชาติของเด็ก 
         • ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความสุข ผ่อนคลายอารมณ์เครียด
         • ส่งเสริมให้เด็กมีสมาธิโดยใช้นิทานเป็นสื่อช่วยยืดช่วงความสนใจของเด็กให้นานขึ้น
         • ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ซึ่งอาจแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง
         • ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ทางภาษา เรียนรู้คำศัพท์ใหม่และการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
         • เสริมประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ที่เหมาะสมกับวัย
         • ให้เด็กได้แสดงออก กล้าซักถาม และแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
         • ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ
         • เตรียมความพร้อมทางภาษาทุกด้านทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน 
         • กระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจหนังสือ คุ้นเคยกับหนังสือ ส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่าน
         • พัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก เด็กกับเด็ก
         • พัฒนาด้านการคิด สามารถรับรู้สิ่งที่ฟังและถ่ายทอดเรื่องราวที่ฟังให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามวัย
         • ใช้นิทานเป็นสื่อในการลดและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

เห็นได้ว่าความสำคัญของนิทาน มีมากมาย ดังนั้นการอ่าน การเล่านิทาน จึงเป็นกิจกรรมที่มองข้ามไม่ได้สำหรับบุคคลที่ต้องเกี่ยวข้องกับเด็ก อาทิ พ่อแม่ ครู หรือผู้ดูแล วิธีการเล่า การนำเสนอนิทานนั้นต้องคำนึงว่า เล่าอย่างไรเด็กถึงจะสนุก สนใจ เกิดจินตนาการและเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน รวมทั้งเลือกนิทานอย่างไรให้เหมาะกับวัยของเด็กไม่ใช่เรื่องยากแต่เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเท่านั้น

ข้อมูลอ้างอิง

กิติยวดี - อัญญมณี บุญซื่อ. (2549).สอนภาษาอย่างไรให้ลูกเก่ง . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สาราเด็ก.

ปรีดา ปัญญาจันทร์. (2542). คู่มือเล่านิทานเล่ม 1 เล่านิทานอย่างไรให้สนุก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก. 

เยาวพา เดชะคุปต์ . (2551).เอกสารประกอบการอบรม เทคนิกการสอนภาษาเด็ก ปฐมวัย . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป . ( 2549 ). คู่มือพัฒนาสมองของลูก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พิมพ์ดี .



2.การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ

อ.ธนวดี ศุกระกาญจน

ของเล่นมักมีความสำคัญอย่างยิ่งกับเด็ก เพราะเป็นเสมือนเครื่องมือที่นำเด็กไปสู่การพัฒนาตนเองกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการรับรู้โลกภายนอกผ่านการเสนอความรู้สึกนึกคิดแสดงออกผ่านสื่อต่าง ๆ ของเล่นเป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้เด็กสำรวจ ทดลอง ค้นคว้า กับวัสดุทุกชนิดอย่างอิสระ ผ่อนคลาย ไม่คำนึงถึงความถูกผิด อีกทั้งมีความสอดคล้องกับลักษณะนิสัยของเด็ก ที่เป็นผู้ไม่อยู่นิ่ง ชอบซักถามสืบค้น ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว เด็กจึงเป็นผู้เรียนที่มีความกระตือรือร้น เมื่อเด็กประสบความสำเร็จในงานที่ลงมือกระทำด้วยตนเอง จึงช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง ส่งผลให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น ซึ่งกระบวนการประดิษฐ์ของเล่นอย่างง่าย ๆ จากวัสดุรอบตัวเด็กหรือวัสดุจากธรรมชาติจะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ ทำให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก เป็นพื้นฐานให้เด็กรักการทำงานเพราะการลงมือปฏิบัติให้เด็กเกิดความเคยชิน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องทำให้เด็กรักการทำงาน เกิดความภาคเพียร ผลของความสำเร็จในการทำงานทำให้เกิดความภูมิใจที่ได้รับความสำเร็จอยู่เสมอ ทำให้เกิดความมั่นใจในการทำงาน มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยเฉพาะเราสามารถนำวัสดุจากท้องถิ่น มาประดิษฐ์เป็นของเล่นอย่างง่ายๆ ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น 

- ลูกยาง มีลักษณะลูกกลมๆ มีน้ำหนักและกลีบเลี้ยง 2 ใบ เมื่อโยนลูกยางขึ้นที่สูง ๆ จะหมุนตกลง มาตามทิศทางลม 


- ลูกยางโดดร่ม
 

สื่ออุปกรณ์
    - ลูกยาง
    - ถุงพลาสติกใสขนาด 12” x 12” 
    - สีช๊อก สีโปสเตอร์
    - ด้ายเส้นเล็ก
    - พู่กัน
วิธีทำ
    1. นำลูกยาง ใช้พู่กันระบายสีตกแต่งสีสันให้สวยงาม ผึ่งให้แห้ง
    2. นำถุงพลาสติกใสขนาด 12” x 12” หรือ 10” x 10” ใช้สีช๊อกออกแบบตกแต่งสวยงาม
    3. นำด้าย 4 เส้น ผูกพลาสติกทั้ง 4 มุม ปลายเส้นด้ายอีกข้างผูกที่ลูกยาง

วิธีเล่น พับถุงพลาสติกพันเส้นด้าย โยนขึ้นข้างบน เมื่อตกลงมาร่มหรือถุงพลาสติกจะกางออก และตกลงสู่พื้น 
- ตุ๊กตาลอยลม
สื่ออุปกรณ์
    - ลูกยาง
    - ตะเกียบ หรือ ไม้ 
    - ผ้าเช็ดหน้า หรือ เศษผ้า
    - กระดาษสี
    - กาว กรรไกร
วิธีทำ
    1. เจาะรูลูกยางทากาว ใช้ไม้หรือตะเกียบเสียบตรงรูทิ้งให้กาวแห้ง
    2. ตกแต่งหน้าตาตุ๊กตาบนลูกยางด้วยกระดาษสี
    3.นำผ้าหรือผ้าเช็ดหน้าผูกเป็นกระโปรงติดบริเวณระหว่างตะเกียบกับลูกยางตกแต่งกระโปรงให้สวยงาม

วิธีเล่น สามารถนำไปเล่นเป็นตุ๊กตา หรือเป็นหุ่นประกอบเล่าเรื่องประกอบภาพได้ 



3.สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย (Modern Media and Playing Materials for Young Children)
                    สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย (Media and playing materials for the preschooler) เป็นผลพวงของความเจริญก้าว หน้า และศักยภาพในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดเป็นผลผลิตทางการเรียนรู้ให้แก่มนุษย์ชาติ เด็กปฐม วัยคือคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รอดผลจากผลกระทบทั้งหลายเหล่านั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องหันมาให้ความสนใจ และคิดใคร่ครวญถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ในการร่วมเรียนรู้ พัฒนา และสนับสนุน ส่งเสริมการใช้สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่
เพื่อพัฒนาเด็กทั้งรายบุคคลและในระบบกลุ่มสื่อและเครื่องเล่นโดยทั่วไปแล้ว มีคุณค่าในการเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานแก่เด็กในหลากหลายด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมถึงความเข้าใจในการทำหน้า ที่ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย เสริมจิตนาการและทักษะการสื่อสารระหว่างเพื่อนมนุษย์รอบๆตัว
สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ในปัจจุบันนี้ มักปรากฏให้เห็นในรูปแบบดิจิตอลอนาล็อก โปรแกรม แอพพลิเคชั่น ที่ใช้ประกอบฮาร์ดแวร์ เช่น เครื่องโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตอีบุ๊คส์ หรือโปรแกรมทีวีออนไลน์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งาน สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆแก่เด็ก อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการเรียนรู้แบบดั้งเดิมเช่น การวาดภาพระบายสี การตัดแปะกระดาษต่างๆ ก็ยังมีความสำคัญ และเป็นกิจกรรมการพัฒนาหลักๆที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กใช้อวัยวะร่างกาย เช่น ลำแขน ฝ่ามือ และอวัยวะอื่นๆ ทำงานร่วมกันในการสร้างชิ้นงาน ตามความคิด ซึ่งสื่อยุคใหม่จะสามารถเข้ามาเติมเต็มให้เกิดผลผลิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ เช่นการสร้างรูปด้วย กล้องดิจิตอล วีดีโอ โทรศัพท์มือถือ เทปบันทึกเสียง ที่สร้างความบันเทิง ร่วมกับเสนอตัวช่วยในการสร้างชิ้นงานจากจิตนาการสร้างสรรค์ของแต่ละคน
อ้างอิง

Amanda Morgan (2010). A Handful of Fun: Why Sensory Play is Important for Preschoolers - http://notjustcute.com/2010/03/24/a-handful-of-fun-why-sensory-play-is-important-for-preschoolers/. Not just cute international whole child development. [2013, November 1].
Understand media (n.d.). How to teach media literacy in the classroom. -http://www.understandmedia.com/ml-pta/26-how-to-teach-media-literacy-in-the-classroom. [2013, November 1].
Kaiser Family Foundation (January 01, 2010). Generation M2: Media in the Lives of 8- to 18-Year-Olds. - http://kff.org/other/poll-finding/report-generation-m2-media-in-the-lives/ [2013, November 1].




4.การจัดค่ายนันทนาการสำหรับเด็กปฐมวัย



       การจัดค่ายนันทนาการสำหรับเด็กปฐมวัย (Recreation Camping for Young Children)หมายถึง การจัดค่ายแบบค้างแรมสำหรับเด็กก่อนถึงวัยเรียน โดยเน้นการจัดค่ายนอกสถานที่เป็นส่วนใหญ่ ภายใต้การดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ซึ่งกิจกรรมของค่ายนันทนาการช่วยเปิดโอกาสให้เด็กที่อาศัยอยู่ในเมืองได้ออกมาสัมผัสกับบรรยากาศของธรรมชาติ โดยการจัดค่ายนันทนาการสำหรับเด็กอาจจัดในพื้นที่กลางแจ้งหรือบริเวณใกล้แหล่งธรรมชาติ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆพร้อมกับใกล้ชิดธรรมชาติไปในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ การจัดค่ายนันทนาการมักรวบรวมกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเสริม สร้างและพัฒนาทักษะต่างๆให้กับเด็กๆ อาทิ การพายเรือ การปีนเขา การเดินป่า หรือการว่ายน้ำ เป็นต้น

อ้างอิง
ความหมายของนันทนาการ - http://www.dpe.go.th/link/forlive/meaning.htm [2014, April 25]
A Guide to Summertime Planning for the Preschool Teacher.http://www.brighthubeducation.com/summer-learning-activities-ideas/125463-indoor-and-outdoor-learning-activities-for-preschoolers-during-the-summer/ [2014, April 27]
Benefits of Day Camp for Preschoolers - http://www.whattoexpect.com/toddler/benefits-of-day-camp-for-preschoolers.aspx [2014, April 25]
Camping. http://en.wikipedia.org/wiki/Camping [2014, April 25]
Camping with Your Preschooler.http://www.education.com/magazine/article/Camping_Preschooler_First_Time/ [2014, April 27]




5.การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน

    การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Play and Learn) หมายถึง วิธีการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยโดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิควิธีการบูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก และการเล่นให้เข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่น แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น การเล่นปนเรียนเป็นการเล่นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญ ญาภายใต้การอำนวยความสะดวก สนับสนุน ชี้แนะ ช่วยเหลือของครูในด้านต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้แบบเล่นปนเรียนเกิดประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด

อ้างอิง

ประภาพรรณ สุวรรณสุข. (2525). เอกสารการสอนชุดวิชา พฤติกรรมวัยเด็ก หน่วยที่ 2. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
ศรีสมวงศ์ วีรศิลปิน. (2520). การเล่นของเด็ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเกษม.
Hurlock, E.B. (1965). Developmental Psychology. 2nd ed. New York : McGraw - Hill.
Rudolph, M. and Cohen, D.H. (1984). Kindergarten and Early Schooling. New York : McGraw - Hill.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น